top of page

เครือข่ายเมียนมาร์-ประชุมกับ ดร.ออง มอ

บันทึกธัมมเจดีย์ 117

(18/5/2559)

ได้ประชุมกับ ดร.ออง มอ (Dr.Aung Maw) ที่จะเป็นรอยต่อสำคัญกับทางเมียนมาร์ ทางเราจึงต้องขอเชิญกรรมการที่ปรึกษาก่อตั้งโครงการที่พอจะเป็นตัวแทนประเทศไทยได้ มีโยมณัฐศักดิ์ (ณัฐศักดิ์ โรจนพิเชฐ) MD Oracle Thailand, โยมพี่อดิเรก (อดิเรก ปฏิทัศน์) อดีตนายกสมาคมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (ATCI) สองสมัย และ โยมวรคุณ (วรคุณ บุญโสธรสถิตย์) และ มีตัวแทนจากทีมธัมมะเอนจิเนียร์ไปสองคน คือ โยมอริยะ (อริยะ อ่วมอร่าม) กับ โยมกรกฏ (กรกฎ เชาวะวณิช) มีโยมนีลชา (นีลชา เฟื่องฟูเกียรติ) เป็นผู้บันทึกการประชุมและบันทึกภาพ

ดร.ออง มอ เชิญคณะของเรา ไปประชุมที่สำนักงานของ ดร.ที่ถนนกรุงเทพกรีฑา

ได้อธิบายแนวความคิดของโครงการพระธัมมเจดีย์ให้ ดร.ออง เข้าใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวความคิดหลักสำคัญที่ว่าโครงการพระธัมมเจดีย์เป็นโครงการร่วมของชาวพุทธทั้งมวล โดยเริ่มต้นจากประเทศเมียนมาร์ ไทยและศรีลังกา ที่จะร่วมใจกันรวบรวมมรดกแห่งอารยธรรมทางปัญญา (Wisdom Heritage) คือคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ประเทศทั้งสามสั่งสมมาหลายพันปีเพื่อมอบให้แก่ชาวโลก

ภาพที่จะเป็นสัญลักษณ์ของโครงการพระธัมมเจดีย์

มีความหมายของ 3 ประเทศ คือ

เส้นขอบเป็นรูปพระเจดีย์ชเวดากอง(เมียนมาร์)

ตัวอักษรสิงหลซึ่งเป็นอักษรที่บันทึกพระไตรปิฎกเป็นครั้งแรกของโลก(ศรีลังกา)

และพระธัมมจักรสมัยทวารวดี(ไทย)

นอกจากจะส่งไฟล์สแกนพระไตรปิฎกเมียนมาร์ทั้งหมดมาให้แล้วก่อนหน้านี้ (บันทึก) ดร.ออง ยินดีและเสนอให้ความร่วมมือเต็มที่ และบอกว่าทางบริษัทของเขาเองก็ทำธุรกิจเรื่อง ebook และ ejournal อยู่ ให้กับลูกค้าที่เป็นมหาวิทยาลัยใหญ่ๆในไทยและในเมียนมาร์ และได้ช่วยเหลือกลุ่มในเมียนมาร์หลายกลุ่มที่ทำโปรแกรมเกี่ยวกับบาลีและพระไตรปิฎก ดร.ออง จะรวบรวมข้อมูลเพื่อมานำเสนอให้กับทีมเราในการประชุมร่วมกันในการประชุมครั้งถัดไป

ในหนึ่งเดือน ดร.ออง อยู่ที่เมียนมาร์สองอาทิตย์ อยู่เมืองไทยสองอาทิตย์ ทำให้โล่งใจไปได้มากเกี่ยวกับเครือข่ายทางเมียนมาร์ และความเชี่ยวชาญของบริษัท ดร.ออง ในธุรกิจที่ทำอยู่น่าจะเป็นประโยชน์กับโครงการพระธัมมเจดีย์ได้เป็นอย่างดี

*************************************

http://dhammastupa.org/a

Comments


bottom of page